วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิกฤต การเงินของคนไทย

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่จะพยายามก้าวไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและ         ความมั่งคั่ง โดยใช้การพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้คนส่วนหนึ่งยากจนลง เพราะการพัฒนาทุนนิยมใช้ประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยเป็นการพัฒนาทุนนิยมแบบบริวารที่มีการผูกขาด    การแข่งขันไม่เป็นธรรม พึ่งการลงทุน การสั่งเข้าเทคโนโลยีจากประเทศร่ำรวย ไม่ได้พัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็ง การเติบโตทางเศรษฐกิจให้ประโยชน์กับ ทุนต่างชาติ และนายทุนใหญ่ในประเทศมากกว่า   ที่จะกระจายสู่คนส่วนใหญ่ ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง มีความยากจนเพิ่มมากขึ้น ประชาชนยังถูกทำให้จนลงโดยนโยบายพัฒนาประเทศแบบทุนนิยมบริวาร

เมื่อประเทศไทยกำลังเริ่มพัฒนาวิถีการผลิตและวิถีชีวิตแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมในระยะแรก ดูเหมือนจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น มีสินค้าจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ยิ่งพัฒนาการเกษตรเป็นแบบการผลิตเพื่อขายมากขึ้นประชาชนถึงได้พบในตอนหลังว่ารายจ่ายเพิ่มสูงเร็วกว่ารายได้



กราฟรูปที่ 1

จะเห็นได้ว่ารายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนของประชาชนในประเทศ ในปี พ.ศ.2552 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี พ.ศ.2543อย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากประเทศไทยเริ่มหันหน้ามาพัฒนาวีถีการผลิตแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกษตรกรต้องเป็นผู้เช่า เป็นหนี้ต้องซื้อแพงขายถูก
ทำงานหนักเพิ่มขึ้น เสี่ยงภัยและได้รับมลภาวะเพิ่มขึ้น คนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตลดลงกว่าวิถีชีวิตใน             ยุคสมัยเกษตรยังชีพแบบดั้งเดิม
ความยากจนยุคใหม่หรือความยากจนแบบที่คนจำนวนมากมีรายได้ไม่พอที่จะดำรงชีพอย่างเหมาะสม               เพิ่มมากขึ้น มักถูกนักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมอุตสาหกรรมอธิบายว่ามาจากสาเหตุ
1.ประชาชนเพิ่มขึ้นมาก ทรัพยากรมีจำกัด หรือไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพให้เพียงพอกับความต้องการของคน
2.โครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศยากจนเป็นแบบเผด็จการและเจ้าขุนมูลนายโดยใช้อภิสิทธิชนกลุ่มน้อย
3.คนจนคือคนที่ได้รับการศึกษาอบรมที่ได้รับบริการทางสาธารณสุขที่มีวิถีการผลิตและวิถีชีวิตที่ ล้าหลังประสิทธิภาพการผลิตที่แข่งขันสู้คนอื่นเขาไม่ได้ (วัฏจักรของ โง่ จน เจ็บ)
สิ่งเหล่านี้มองแต่ปัจจัยภายนอกประเทศจากการเข้ามาเอาเปรียบของประเทศอาณานิคมและบริษัทข้ามชาติ ทำให้ปัจจัยภายในประเทศเหล่านี้สะท้อนความจริงส่วนหนึ่งสำหรับบางประเทศ บางกลุ่มคน หรือในบางระดับเท่านั้น แต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมดของคนจนส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบัน และไม่ใช่ความจริงทั้งหมดของคนยากจนชาวไทยในปัจจุบัน คนจนสมัยก่อนไม่ได้จนมากเหมือนคนจนสมัยนี้
ในประเทศไทยในยุคก่อนการพัฒนาแบบทุนนิยมแบบบริวาร มีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรสูง                 “ในน้ำมีปลา   ในนามีข้าว สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนชนบทส่วนใหญ่มองในแง่การมีปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรคค่อนข้างพอเพียง ถ้าเปรียบเทียบแล้วคนไทยทั่วๆไปแม้แต่คนชนบทที่ห่างไกลก็ยังมีอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องไม้สอยพอเพียงมากกว่าคนจนยุคใหม่ซึ่งต้องทำงานหาเงินเพื่อใช้เงินซื้อปัจจัยพื้นฐานทุกอย่าง

ความยากจนยุคใหม่ซึ่งเป็นความยากจนขึ้นอยู่กับการที่คนหาเงินได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่จำเป็น


กราฟรูปที่ 2
และในสำหรับปัจจุบันประชาชนต้องกลายเป็นผู้ซื้อปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ในราคาเพิ่มสูงขึ้น                          จากปี พ.ศ.2550-พ.ศ.2552 บวกกับภาวะที่ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือน เป็นเหตุผลให้ประชาชนต้องกู้หนี้ยืมสิน ทั้งในและนอกระบบ เพื่อจะนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมนี้ มาซื้อปัจจัยพื้นฐานตอบสนอง  ความจำเป็นต่อครัวเรือน ทำให้มีประชาชนในประเทศยากจนเพิ่มมากขึ้น ความยากจนยุคใหม่จึงเป็นความยากจนขึ้นอยู่กับการที่คนหาเงินได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่จำเป็น
ส่วนใหญ่แล้วถูกสร้างขึ้นโดยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาดที่ทำลายทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนแบบดั่งเดิม ซึ่งเปรียบเทียบเสมือนทุนทางสังคมและวัฒนธรรมชุมชน  การพัฒนาแบบทุนนิยมผูกขาด ทำให้คนบางส่วน นายทุน พ่อค้า ผู้ประกอบการรายใหญ่ คนชั้นกลางรวยขึ้น แต่ทำให้คนส่วนใหญ่จนลง และนี่คือความยากจนขนาดใหญ่

กราฟรูปที่ 3
ทำให้เส้นความยากจนของประชาชนคนไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2541มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกๆปีจนถึง         ปีพ.ศ.2551 เส้นความยากจนก็ยังทะยานไปในทิศทางที่สูงขึ้น
ซึ่งเป็นความยากจนเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมสมัยใหม่ซึ่งต่างไปจากความยากจนเชิงเปรียบเทียบในสังคมเกษตรดั้งเดิมสมัยก่อนทุนนิยมโดยสิ้นเชิงจริงอยู่ที่การพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมสมัยใหม่มี     แง่บวกในด้านการพัฒนาสาธารณสุขการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตช่วยเพิ่มผลผลิตทำให้บางประเทศหรือคนบางกลุ่มมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากเดิมอัตราการตายของแม่และเด็กลดลง คนอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นฯลฯ
แต่ผลกระทบในแง่ลบของระบบทุนนิยมโลกที่มีลักษณะผูกขาดแบบมือใครสาวได้สาวเอานั้น โดยส่วนรวมแล้วทำให้คนส่วนน้อยเพียง20%ของคนทั้งโลกเท่านั้นที่รวยขึ้นส่วนคนอีก80%ถูกทำให้ยากจน ขัดสนและอยู่ในภาวะลำบากมากขึ้น ทรัพยากร ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม(ชุมชนเคยเข้มแข็งและช่วยเหลือเกื้อกูลสมาชิกได้อย่างดี) ถูกทำลายมากขึ้น มีการแก่งแย่งแข่งขันแบบเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น
ทำให้เกษตรกรในสังคมดั้งเดิมหรือเกษตรกรยุคปัจจุบันบางกลุ่มบางคนที่เลิกหรือลดการทำเกษตรเพื่อการขายแบบทุนนิยมหันกลับไปฟื้นฟูเศรษฐกิจแบพอเพียง ที่ผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ มีปัจจัยพื้นฐานเพียงพอ นอกจากนี้ คนที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจากเพียงนิดหน่อย แต่ยังคงมีหนี้มาก

กราฟรูปที่ 4

ปี พ.ศ.2552 อิทธิพลของบัตรเครดิตเริ่มเข้ามามีบทบาทกับประชาชนที่มีรายได้น้อยมากขึ้น เพื่อใช้บัตรเครดิตเหล่านี้จับจ่ายใช้สอยปัจจัยพื้นฐานที่เกินความจำเป็น ทั้งๆที่ ณ ตอนนี้ ประชาชนที่มี รายได้น้อยไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต สถานะทางสังคมและการเมืองต่ำ ไม่มีอำนาจต่อรอง ไม่มีสิทธิโอกาสที่จะเข้าถึงการบริการพื้นฐานต่างๆ ได้ทัดเทียมกับคนอื่นๆ ก็ยังอาจถูกจัดว่าเป็นคนยากจนในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้ การวัดการกระจายของคนไทยพบว่า ยิ่งพัฒนาการกระจายรายได้ของกลุ่มคนต่างๆ ในประเทศยิ่งมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงมากขึ้น
และยิ่งปัจจุบันคนไทยชนชั้นกรรมาชีพที่คาดว่าในอนาคตจะมีความเป็นอยู่ที่ยากขึ้น โดยเฉพาะพนักงานมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ก็คือค่าแรงงานที่เป็นเงินเดือนประจำ
ซึ่งมนุษย์เงินเดือนในยุคใหม่นี้ เริ่มรู้สึกว่า การมีรายได้จากการเงินเดือนเพียงอย่างเดียว มันมีความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ไม่พอกิน มีพอกินแต่ไม่พอเก็บ มีพอกินพอเก็บ แต่ไม่พอสำหรับอนาคตที่จะต้องมีสมาชิกเพิ่มขึ้น มีพอกินพอเก็บพอสำหรับสมาชิกแต่ไม่พอสำหรับค่าเจ็บป่วยซึ่งไม่อาจประมาณการได้     

ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้เรามีการหารายได้เสริมขึ้น ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัว มีขึ้นมีลงขึ้นกับภาวะการณ์และความขยันของแต่ละคน
 ดังนั้น จึงควรจำกัดความจนให้ครอบคลุมคนยากจนขัดสนและหาตัวชี้วัดในด้านสังคม การเมือง และวัฒนธรรมด้วย ซึ่งต่างจากตัวชี้วัดทางรายได้หรือทางเศรษฐกิจ มาพิจารณาประกอบกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ จึงจะเห็นภาพความยากจนซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างเป็นองค์รวม และสามารถวิเคราะห์สาเหตุของความยากจน ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัญหาผลกระทบและปัญหาความยากจนต่อสังคม พร้อมทั้งยังสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างถูกต้องหรือใกล้เคียงความเป็นจริงได้มากขึ้น




อ้างอิง:ปัญหาคนจนและการแก้ปัญหาความยากจน.


1 ความคิดเห็น:

kanokporn กล่าวว่า...

ตรวจแล้ว
อ.กนกพร

แสดงความคิดเห็น